วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การใช้ใบพลูรักษาโรคและอาการต่าง ๆ


     ดับกลิ่นปาก ใช้เคี้ยวแล้วคายทิ้งวันละ 2-3 ครั้ง ช่วยดับกลิ่นปากได้ ดับกลิ่นกาย ใช้ใบสดขยี้ให้แหลกแล้วใช้ทาถูที่ใต้รักแร้เป็นประจำ


     แก้ลมพิษ ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียดผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ใช้ทาจนหาย

     แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำร้อนสักหนึ่งแก้วดื่ม ช่วยลดอาการปวดจุกแน่นเฟ้อและบำรุงกระเพาะอาหารด้วย
     ลดปวดบวม ใช้ใบพลูเลือกใบใหญ่ ๆ นำไปอังไฟให้ร้อนใช้ไปประคบบริวณที่ปวดบวมช้ำ
     รักษากลากและฮ่องกงฟุต เอาใบสดโขลกให้ละเอียดดองกับเหล้าขาวทิ้งไว้ 15 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำใช้ทาบริเวณที่เป็น

อ้างอิง http://health.kapook.com/view100415.html

ประโยชน์จากพลู

        เห็นต้นพลูแล้วนึกถึงคุณแม่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะเคี้ยวหมากต้องใช้ใบพลูทาปูนแดง เวลาบ้วนออกมาน้ำจะมีสีแดง พอใบพลูหมดท่านก็จะใช้ให้ไปซื้อที่ตลาดราคากำละ 1 บาท ท่านไปไหนจะมีตะกร้าใส่อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเคี้ยวหมากไปด้วยเสมอ หากวันไหนไม่ได้เคี้ยวจะเกิดอาการหาวและน้ำตาไหล เป็นอาการที่เรียกว่าอยากหมาก ถ้าท่านขาดส่วนประกอบการเคี้ยวหมากอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะพาลโมโหเราที่ไม่ไปซื้อให้ ทำให้เราไม่ชอบคนเคี้ยวหมาก เพราะเวลาเราไปมักจะซื้อผิดระหว่างใบชะพลูกับใบพลู และไม่ได้สนใจที่จะจดจำลักษณะและคุณประโยชน์ที่ได้จากพลูเพราะว่ามันสูญหายพร้อมกับการจากไปของคุณแม่
        จนกระทั่งเราได้อ่านข้อมูลของพลูจากงานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรมฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ระบุว่าพลูเป็นไม้เลื้อย มีข้อและปล้องชัดเจน ที่ข้อมีรากสั้น ๆ ออกรอบข้อ ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับลักษณะของใบคล้ายใบโพธิ์ ปลายใบแหลม ผิวใบมัน ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น ปลูกโดยใช้ลำต้นปักชำ ขึ้นง่าย คนแก่ใช้ทาปูนแดง รับประทานกับหมากซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพลูที่มีใบสีเขียวเข้มมากกว่าพันธุ์ที่มีใบสีออกเหลืองทอง นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในพิธีมงคลเป็นเครื่องเซ่นไหว้ การทำเครื่องบายศรีสู่ขวัญ พลูมีคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ สารที่เรียกว่า ชาวิคอล ยูจีนอลเบต้าซิโตสเตอรอล และซินีออล เป็นต้น พลูเป็นสมุนไพรแก้ลมพิษ รักษาอาการคัน ในใบพลูมีสารยูจีนอลและชาวิคอล มีฤทธิ์เป็นยาชาและช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด จึงมีประโยชน์ในการระงับอาการคันและเจ็บปวดเนื่องจากแมลงกัดต่อย ช่วยฆ่าและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของวัณโรคและเชื้อหนอง และมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลาก และพบว่าน้ำมันพลูสามารถฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ สารเบต้าสเตอรอล มีฤทธิ์แก้แพ้ แก้อักเสบ นอกจากนี้ พลูยังมีสรรพคุณใช้แก้การอักเสบของเยื่อจมูกและคอ แก้กลาก แก้ฮ่องกงฟุต แก้คัน แก้ลมพิษ ลนไฟนาบท้องเด็ก แก้ปวดท้องและแก้ลูกอัณฑะยาน เป็นต้น

การเก็บใบพลูและการแต่งกิ่ง

การเก็บใบพลูและการแต่งกิ่ง
1. เมื่อต้นพลูอายุ 6 เดือน ก็สามารถเริ่มเก็บใบแก่ขายได้ โดยเก็บเฉพาะใบพลูที่แก่จัด ถ้าหากปลูกพลูโดยให้ต้นพลูยึดเกาะต้นไม้อื่นในสวน ต้นพลูก็จะเลื้อยขึ้นไปตามต้นไม้ที่ยึดเกาะ ทำให้เก็บไม่ถึง จึงต้องใช้บันไดในการเก็บใบพลู

2. เมื่อต้นพลูอายุมาก ก็จะแตกกิ่งแขนงออกมามาก ถ้าหากใบพลูที่กิ่งแขนงเริ่มเล็ก ก็ต้องหักกิ่งทิ้ง เพื่อให้ต้นพลูแตกกิ่งใหม่ออกมา ใบพลูก็จะมีขนาดใหญ่สามารถเก็บขายได้เหมือนเดิม

3. เมื่อเก็บใบพลูเสร็จก็ต้องนำใบพลูมาพรมน้ำ เพื่อให้ใบพลูสด ไม่เหี่ยว

4. การเก็บใบพลูเพื่อจำหน่าย ถ้าปลูกประมาณ 150 ต้น สามารถเก็บใบพลูจำหน่ายได้ทุกสัปดาห์ ๆ ละ 1-2 ครั้ง โดยเก็บครั้งละครึ่งหนึ่งของจำนวนต้นพลูทั้งหมด ซึ่งสามารถเก็บสลับหมุนเวียนได้ทุกสัปดาห์ เก็บใบพลู 1 ครั้ง

อ้างอิง https://www.facebook.com/agriculturemag/?fref=nf

วิธีการปลูกพลูและการบำรุงรักษา

วิธีการปลูกพลู
1. ให้เตรียมดินโดยขุดดินตากไว้ 2–4 สัปดาห์ แล้วจึงพรวนดินอีกครั้งก่อนปลูกใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1.5–2 เมตร ระหว่างแถว 1.5 เมตร ขุดหลุมขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 40 เซนติเมตร และลึก 30 เซนติเมตร ตามลำดับ
2. ใช้ปุ๋ยคอกคลุกเคล้ากับดินใส่หลุมจนเต็มหลุมทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
3. จากนั้นจึงนำยอดเถาที่ปักชำไว้แล้ว 3 สัปดาห์ ลงปลูกในหลุม สำหรับยอดเถาที่ใช้เป็นท่อนพันธุ์นั้น ควรยาว 30–50 เซนติเมตร มีข้ออยู่ประมาณ 5–7 ข้อ และไม่ควรใช้กิ่งแขนงทำเป็นท่อนพันธุ์เพราะมักจะไม่แตกพุ่ม
4. เมื่อนำท่อนพันธุ์ลงปลูกแล้ว ควรใช้เชือกยึดเถาไว้กับไม้หลักชั่วคราว ซึ่งใช้ไม้ไผ่ขนาดเล็กยาว 1 เมตร และควรทำร่มบังแสงให้ด้วย รดน้ำทั้งเช้าและเย็นเป็นเวลา 1 สัปดาห์
5. ต่อจากนั้นอาจเว้นได้บ้าง เมื่ออายุ 1–2 เดือน จึงเอาวัสดุบังร่มออก และเมื่ออายุ 3 เดือนจึงทำค้างถาวร โดยใช้ไม้แก่นหรือไม้ไผ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 6–11 เซนติเมตร สูง 3–3.5 เมตร ปักห่างจากต้นประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกลงไปในดิน 1 เมตร มัดไม้หลักชั่วคราวให้ติดกับหลักใหม่
6. ต่อมารากที่ออกตามข้อจะเกาะติดกับหลักและต้นพลูก็จะเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามไม้ค้างพลู เมื่อต้นพลูตั้งตัวได้แล้วจึงรดน้ำวันเว้นวัน

การบำรุงรักษา
พรวนดินกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นเพื่อให้แปลงโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และป้องกันเชื้อโรคและแมลงต่างๆ อาศัย ตัดแต่งกิ่งเมื่ออายุมากโดยหักข้อที่กิ่งแขนงไม่แตกใบออก กิ่งแขนงที่จำนวนข้อมากเกินไป ก็ควรหักให้เหลือเพียง 5–7 ข้อ การตัดกิ่งควรทำทุกๆ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยคอก 3 เดือนต่อครั้ง นอกจากนี้ควรป้องกันและกำจัดโรคและแมลงต่างๆ ด้วย
อ้างอิง https://www.facebook.com/agriculturemag/?fref=nf

ชนิดของพลู

ชนิดของพลู

1. พลูเขียว หรือบางท้องที่จะนิยมเรียกว่า พลูใบใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ป้อม ๆ แต่ใบบาง ลักษณะใบเหมือนใบโพธิ์ มีสีเขียวเข้มกว่าพันธุ์อื่น มีรสเผ็ดมาก พลูชนิดนี้นิยมทำเป็นพลูนาบ และนิยมนำไปใช้ในการประกอบพิธี

2. พลูขาวหรือพลูนวล ใบมีขนาดปานกลางเล็กกว่าพลูเขียว แต่ใบหนากว่าพลูเขียว ปลายใบเรียวลักษณะใบเหมือนใบพริกไทย มีสีเขียวออกนวล รสไม่เผ็ดมากนักเป็นที่นิยมของท้องตลาดและผู้บริโภค

3. พลูเหลืองหรือพลูทอง ใบมีขนาดเล็กกว่าพลูนวลเล็กน้อย ใบบางเหมือนพลูเขียว ปลายใบจะเรียวเหมือนพลูนวล ใบมีสีเหลืองออกสีทอง รสไม่เผ็ดมากนัก เป็นที่นิยมของท้องตลาดและผู้บริโภคมาก การดูแลรักษายากกว่าพันธุ์อื่น

อ้างอิง https://www.facebook.com/agriculturemag/?fref=nf

ข้อมูลทั่วไป

พลู (อังกฤษBetelจีน蒌叶ชื่อวิทยาศาสตร์Piper betle) เป็นพืชชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์พริกไทย (Piperaceae)
พลูเป็นไม้เลื้อย มีข้อและปล้องชัดเจน ที่ข้อมีรากสั้น ๆ ออกรอบข้อ ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ ลักษณะของใบแหลมคล้ายใบโพ ผิวใบมัน ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น ปลูกโดยใช้ลำต้นปักชำ ขึ้นง่าย เป็นพืชพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ใบของพลูนั้นมีรสเผ็ดร้อน เป็นที่รู้จักกันดีว่านิยมนำมาทากับปูนแดงเคี้ยวร่วมกับหมาก โดยเฉพาะในคนรุ่นก่อน ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ใบพลูที่มีสีเขียวเข้มมากกว่าใบที่สีออกเหลืองทอง นอกจากนี้แล้วยังใช้ในพิธีมงคลเป็นเครื่องเซ่นไหว้ การทำเครื่องบายศรีสู่ขวัญ
คุณค่าทางสารอาหารของพลู ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ ชาวิคอลยูจินอลเบตาซิโตสเตอรอล และซินีออล เป็นต้น
นอกจากนี้ยังใช้เป็นสมุนไพรแก้ลมพิษ รักษาอาการคัน ในใบพลูมีสารยูจีนอลและชาวิคอล มีฤทธิ์เป็นยาชาและช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด จึงมีประโยชน์ในการระงับอาการคันและเจ็บปวดเนื่องจากแมลงกัดต่อย ช่วยฆ่าและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของวัณโรคและเชื้อหนอง และมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลาก และพบว่าน้ำมันพลูสามารถฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ สารเบตาสเตอรอล มีฤทธิ์แก้แพ้ แก้อักเสบ นอกจากนี้ พลูยังมีสรรพคุณใช้แก้การอักเสบของเยื่อจมูกและคอ แก้กลาก แก้ฮ่องกงฟุต แก้คัน แก้ลมพิษ ลนไฟนาบท้องเด็ก แก้ปวดท้องและแก้ลูกอัณฑะยาน เป็นต้น
พลู มีการปลูกกันเป็นพืชเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะที่ตลาดพลู ฝั่งธนบุรี เริ่มจากชาวอิสลามที่อาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนี้มาตั้งแต่ต้นยุครัตนโกสินทร์ จนกลายมาเป็นแหล่งค้าขายพลูแหล่งใหญ่ จนกระทั่งได้ขยายไปยังชาวไทย และชาวจีนด้วย แม้ปัจจุบันความนิยมกินหมากและพลูจะลดน้อยลงไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังคงมีพื้นที่ปลูกพลูอยู่